หากเรามองการโฆษณาในทุกวันนี้ จะมองเห็นว่า การทำโฆษณานั้น เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น ดังนั้น วันนี้เราจะมาแนะนำการโพสขาย อาหารเสริมอย่างไร ให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงกับการโดนจับโดนปรับ หรือถึงขั้นติดคุก ว่าแล้วเราลองมาดูกันเลยจ้าาาาาา
โฆษณาอาหารเสริม เกินจริง หรือ ไม่ผ่านการตรวจสอบที่ถูกต้องนั้น สามารถทำให้ผู้ประกอบการโดน โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะโดนโทษปรับหรือจำคุกได้ง่ายๆ หากทำผิดพลาดข้อกำหนดของกฏหมายควบคุม
1. อาหารที่กฎหมายกำหนดให้ขออนุญาตผลิต นำเข้า และอื่นๆ ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
2. การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร
– ไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญของอาหาร และให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
– โฆษณาสรรพคุณ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตในฉลาก / ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา /หรือเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก หรือประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลากโภชนาการ
– *แต่ทั้งนี้ หากมีการโฆษณากล่าวอ้างสรรพคุณทางสุขภาพนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตในฉลาก ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดังกล่าวข้างต้น ต้องนำผลการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร บทความรู้ หรือข้อมูลทางวิชาการ มาประกอบการขออนุญาตโฆษณาอาหาร ซึ่งต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริงและเป็นปัจจุบัน อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ และตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์
ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือ
เป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
ผู้ใดประสงค์จะโฆษณา คุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร ทางวิทยุ
กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธี
อื่นใด เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้
ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้
เพื่อพิทักษ์ประโยชน์และความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเป็น
หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(1) ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายอาหาร หรือผู้ทำการโฆษณา ระงับการโฆษณา
อาหารที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืน มาตรา 41
(2) ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายอาหาร หรือผู้ทำการโฆษณาอาหาร ระงับการผลิต
การนำเข้า การจำหน่าย หรือการโฆษณาอาหารที่คณะกรรมการเห็นว่าอาหารดังกล่าวไม่มีคุณประโยชน์
คุณภาพ หรือสรรพคุณตามที่โฆษณา
ผู้ใดโฆษณาอาหารโดยฝ่าฝืน มาตรา 40 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับ
ไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตาม มาตรา 42 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาท
แต่ไม่เกิน หนึ่งพันบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เรามาดูกันนะว่า สินค้าที่คุณโพสอยู่นั้น อยู่ในข่ายทำความผิดหรือไม่ ถ้าไม่ก็สบายใจได้ แต่ถ้าคิดว่ามีความผิด แนะนำให้เปลียนซะนะจ๊ะเดี่ยวจะโดนเข้าไป เสียเงินทอง เสียเวลากันเปล่าๆ
รอบหน้าเราจะมาแนะนำการยื่นขอการโฆษณาทางออนไลน์กันอีกทีนะ ว่าการขอมีวิธีการยังไงบ้าง หรือที่เรียกง่ายๆว่า ขอฆอ. ใว้เจอกันรอบหน้า
สอบถามเพิ่มเติม
บทความแนะนำ : 6 มาตรฐานโรงงานผลิตอาหารเสริม ที่ควรตรวจสอบก่อนตัดสินใจ
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา